DGA701

การปรับเปลี่ยนองค์กรภาครัฐสู่ดิจิทัลด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ

(Design Thinking)

วัตถุประสงค์

  • เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความสามารถ ทักษะ และพัฒนาสมรรถนะที่พึงประสงค์ให้แก่ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐให้ปฏิบัติงานในบทบาท หน้าที่ และภารกิจที่รับผิดชอบในองค์กรที่กำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถเป็นกำลังสำคัญ ในการขับเคลื่อนภารกิจของส่วนราชการและการขับเคลื่อนรัฐบาลดิจิทัลได้
  • เพื่อให้ข้าราชการและบุคลากรภาครัฐให้มีความรู้ความเข้าใจ ในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลโดยเน้นย้ำในเรื่องของการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการคิดเชิงการออกแบบ การเอาลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ปรับปรุงกระบวนการ และพัฒนาการให้บริการใหม่ เพื่อนำไปปรับใช้กับองค์กรเพื่อทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • เพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานให้กับข้าราชการและบุคลากรภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับจากส่วนราชการต่าง ๆ

คำอธิบายหลักสูตรเพิ่มเติม

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นการเรียนรู้เกี่ยวกับแนวโน้มเทคโนโลยีดิจิทัลที่ส่งผลกับการเปลี่ยนแปลงของโลกและหน่วยงาน ผ่านกระบวนคิด วิสัยทัศน์ นโยบายและการสร้างความเชื่อมั่น ผลกระทบของเทคโนโลยีในปัจจุบัน (Disruptive Technology) และแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในโลกยุคดิจิทัล (Technological Trends) อีกทั้งกรอบการเปลี่ยนผ่านเข้าสู้ยุคดิจิทัล โดยใช้แนวทางการสร้างองค์กรแห่งนวัตกรรมด้วย Design Thinking เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องการออกแบบโดยมีลูกค้า (ประชาชน หรือ เพื่อนร่วมงาน) เป็นจุดศูนย์กลาง การสร้างและระบุคุณค่าของการให้บริการ การแก้ไขปัญหาการให้บริการและขบวนการต่าง ๆ โดยผ่านการเรียนรู้กระบวนการ Design Thinking ทั้ง 5 ขั้นตอน เพื่อการประยุกต์ใช้ในการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่องค์กรดิจิทัลและรัฐบาลดิจิทัลต่อไป

รายละเอียดหลักสูตรที่เปิด

ครั้งที่TBA
ผู้สอนอ.ดร.ตรียุทธ พรหมศิริ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
กลุ่มผู้เรียน1. กลุ่มผู้บริหารระดับสูง (Executive)
2. กลุ่มผู้อำนวยการกอง (Management)
3. กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและงานวิชาการ (Academic)
4. กลุ่มผู้ปฏิบัติงานเฉพาะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Technologist)
5. กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการบริการ (Service)
ค่าลงทะเบียน10,700 บาท
หมายเหตุการจัดอบรมจํานวน 1 รุ่น จํานวน 3 วัน (วันละ 6 ชั่วโมง รวม 18 ชั่วโมง)
ติดต่อสอบถามดร.ตรียุทธ พรหมศิริ
เบอร์โทร 089-6666321
triyuth.pro@mahidol.ac.th
สถานที่มหาวิทยาลัยมหิดล
ข้อมูลเพิ่มเติมหลักสูตรนี้ได้รับการรับรองหลักสูตรจากสถาบันพัฒนาบุคคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล

กำหนดการอบรม

เวลาหัวข้อเนื้อหา
 วันที่ 1
9.00 – 12.00กระบวนการเปลี่ยนแปลงสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล  – การเปลี่ยนแปลงจากเทคโนโลยีดิจิทัลส่งผลต่อองค์กรภาครัฐอย่างไร
– รัฐบาลดิจิทัลของประเทศต่างๆ
13.00 – 16.00กระบวนการของการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking Framework) และ การเริ่มต้น
กระบวนการคิดเชิงการออกแบบ ในการทำความเข้าใจและระบุ
ปัญหาและความต้องการของผู้ใช้งานและผู้เกี่ยวข้อง (E, D Stage)    
– ทำความเข้าใจกับกระบวนการคิดเชิงการออกแบบทั้ง 5 ขั้นตอน (Empathize, Define, Ideate, Prototype และ Test)
– ขั้นตอนที่1 E-stage การการเข้าใจปัญหาและเข้าถึงความต้องการของผู้รับบริการ/หัวหน้า/เพื่อนร่วมงาน/กรมกอง ที่ประสานงาน/ประชาชน (Empathize)
– ขั้นตอนที่ 2 D-stage 2 -การระบุต้องการของผู้รับบริการ/หัวหน้า/เพื่อนร่วมงาน/กรมกองที่ประสานงาน/ประชาชน (Define) ในรูปแบบ Problem-Solution Fits
– การสร้างแรงดึงดูดของแนวคิดจากความต้องการลูกค้า Value Proposition Canvas
– การตั้งโจทย์ที่ถูกต้องและท้าทายต่อการสร้างนวัตกรรม (Customer)
 วันที่ 2
9.00 – 12.00กระบวนการคิดเชิงออกแบบ
I-Stage
– การสร้างแนวคิดที่หลากหลายเพื่อสร้างทางเลือกของแนวคิดให้มากที่สุดในบริบท (Value map)
– เทคนิคความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างแนวคิดต่างๆ
13.00 – 16.00กระบวนการคิดเชิงออกแบบ
P-Stage และ T-Stage
– การทำการทดลองเพื่อปรับปรุงแนวความคิด ในบริบททดลองขนาดเล็ก
– เรียนรู้เครื่องมือและวิธีการต่างๆในการสร้าง MVP (Minimum Viable Products)
– แนวความคิด Feedback Loop ในการนำผลลัพธ์จากการทดลองและทดสอบมาใช้เพื่อพัฒนาปรับปรุงแนวความคิดต่อยอด
วันที่ 3
9.00 – 12.00แนวคิดการวางแผนธุรกิจ Business Model Canvas (BMC)  – เรียนรู้องค์ประกอบของ BMC ซึ่งเป็น 9 ปัจจัยหลักในการวางแผนธุรกิจเพื่อความสำเร็จ ครอบคลุมในส่วนของผลิตภัณฑ์และการให้บริการ ผู้รับบริการ/หัวหน้า/เพื่อนร่วมงาน/กรมกองที่ประสานงาน/ประชาชน และกลุ่มเป้าหมาย งานหลังบ้าน และ รายรับรายจ่าย
13.00 – 16.00การให้ข้อเสนอแนะและการนำเสนอผลงาน (Coaching & Pitching) จากกระบวนการทำ Canvas      – การนำผลงานให้ผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อเสนอแนะ (Coaching)
– กระบวนการปรับผลงานตามข้อเสนอแนะ
– การนำเสนอผลงาน (Pitching)  

ลงทะเบียน

ผ่านระบบ Google Form