DGA308
การพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับการบริการด้านดิจิทัลภาครัฐ
(Software Development for Digital Government Services)
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์
- เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการในการออกแบบสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์
- มีความสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ วิเคราะห์ความต้องการ และสรุปความต้องการบริการดิจิทัลและกระบวนการให้บริการแบบเชื่อมโยงได้
- สามารถระบุองค์ประกอบสำคัญของการออกแบบบริการดิจิทัลได้
- สามารถสร้างพิมพ์เขียวบริการ (Service Blueprint) สู่การพัฒนานวัตกรรมบริการได้
คำอธิบายหลักสูตรเพิ่มเติม
หลักสูตรนี้มุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมอบรม เข้าใจถึงกระบวนการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ มีความสามารถในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ สามารถวิเคราะห์ความต้องการ และสรุปความต้องการบริการดิจิทัลและกระบวนการให้บริการแบบเชื่อมโยงได้ ร่วมถึงความสารมารถในการระบุองค์ประกอบสำคัญของการออกแบบบริการดิจิทัล และการสร้างพิมพ์เขียวบริการสู่การพัฒนานวัตกรรมบริการได้
รายละเอียดหลักสูตรที่เปิด
ครั้งที่ | TBA |
ผู้สอน | ผศ. ดร. ธันวดี สุเนตนันท์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ดร. มรกต เชิดเกียรติกุล คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ดร. ชัยยงค์ รักขิตเวชสกุล คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ผศ. ดร. ศรีสุภา ปาลกะวงศ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล |
กลุ่มผู้เรียน | 1. กลุ่มผู้ปฏิบัติงานเฉพาะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Technologist) |
ค่าลงทะเบียน | 12,000 บาท |
หมายเหตุ | การจัดอบรมจํานวน 1 รุ่น จํานวน 3 วัน (วันละ 6 ชั่วโมง รวม 18 ชั่วโมง) |
ติดต่อสอบถาม | อาจารย์ผกาพร เพ็งศาสตร์ เบอร์โทร 0824981177 ict@mahidol.ac.th |
สถานที่ | มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร |
ข้อมูลเพิ่มเติม | หลักสูตรนี้ได้รับการรับรองหลักสูตรจากสถาบันพัฒนาบุคคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล |
เวลา | หัวข้อ | เนื้อหา |
วันที่ 1 | ||
09.00 -12.00 | กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Development Process) | – ความหมายของกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ – ขั้นตอนในการพัฒนาซอฟต์แวร์ – หลักการวิเคราะห์ความต้องการของซอฟต์แวร์ (Software Requirements) และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง – ความหมายของการวิเคราะห์ความต้องการ – ประเภทของความต้องการ – ความต้องการของผู้ใช้ (User Requirement) – ความต้องการของระบบ (System Requirement) – ประเภทของความต้องการของระบบซอฟต์แวร์ – Functional Requirement – Non-functional Requirement – Domain Requirement – บทบาทหน้าที่ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ |
หลักการวางแผนการดำเนินโครงการ (Project Plan) และแผนการพัฒนาซอฟต์แวร์ | – ความหมายของการวางแผน – ประเภทของแผนงานชนิดต่าง ๆ – การระบุทรัพยากรในแต่ละขั้นตอน – หลักการการวางแผนดำเนินโครงการและกำหนดแผนการพัฒนาซอฟต์แวร์ แบบเป็นวงรอบ (Iteration) – กำหนดแนวทางตรวจสอบผลลัพธ์การทำงาน | |
13.00-16.00 | การออกแบบสถาปัตยกรรมและรายละเอียดของซอฟต์แวร์ (Software architecture and Detailed Design) | – ความหมายของการออกแบบซอฟต์แวร์ – กระบวนการในการออกแบบสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ – Design – Implementation – Test – Maintenance |
วันที่ 2 | ||
09.00 -12.00 | การรับประกันคุณภาพของซอฟต์แวร์ (Software Quality Assurance) | – ความหมายของการประกันคุณภาพของซอฟต์แวร์ – กระบวนการประกันคุณภาพของซอฟต์แวร์ – การติดตามและการประเมินผลการดำเนินงาน – Verification and Validation มีการตรวจสอบกระบวนการทำงานและ Work Products ต่างๆ |
13.00-16.00 | หลักการวิเคราะห์การปฏิสัมพันธ์/ประสบการณ์ของผู้ขอรับบริการตลอดจนกระบวนการบริการแบบเชื่อมโยง | – User experience principle – User Journey method |
วันที่ 3 | ||
09.00 -16.00 | องค์ประกอบของการออกแบบบริการเพื่อความสมบูรณ์ของการให้บริการ | – UX/UI Design – องค์ประกอบสำคัญของการออกแบบบริการดิจิทัล – ระบบนิเวศน์บริการ (Service Ecosystem): Frontstage and Backstage – กรอบกระบวนการการให้บริการ: Large Offering, Across Multiple Sub-Offerings เพื่อลดความซับซ้อนในการใช้ทรัพยากร |
วันที่ 4 | ||
09.00 -16.00 | การสร้างพิมพ์เขียวบริการ (Service Blueprint) สำหรับพัฒนานวัตกรรมบริการ | – การออกแบบและวิเคราะห์ Customer Journey เพื่อพัฒนาการบริการ – พื้นฐานการออกบแบบกระบวนงาน (Process Design), การออกแบบองค์กร (Organization Design), การออกแบบสารสนเทศ (Information Design) – ประเมินความเป็นไปได้ด้านต่าง ๆ เช่น ด้านกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง – การสร้างพิมพ์เขียว (Service Blueprint) |