DGA303

หลักสูตรการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภายในหน่วยงานสำหรับผู้ปฏิบัติงานภาครัฐ

(Government Data Governance in Practice)

วัตถุประสงค์

  • เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของธรรมาภิบาลข้อมูลในองค์กร
  • เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อให้การได้มาและการนำไปใช้ข้อมูลนั้นถูกต้อง มีความมั่นคงปลอดภัย และมีคุณภาพ
  • เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในกรอบธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance Framework) และกระบวนการในการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
  • เพื่อพัฒนาบุคลากรให้สามารถนำกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐไปประยุกต์ใช้ อันนำไปสู่การดำเนินการภายในหน่วยงาน ติดตามการบริหารจัดการข้อมูลให้มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้

คำอธิบายหลักสูตรเพิ่มเติม

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการในการประบริหารจัดการข้อมูลในองค์กร การฝึกปฏิบัติเพื่อวิเคราะห์กระบวนงานในองค์กรโดยผลจากการฝึกปฏิบัติจะทำให้เห็นการชุดข้อมูลที่จำเป็นต้องใช้ในแต่ละกระบวนงาน และเห็นความเชื่อมโยงของแต่ละชุดข้อมูลเพื่อให้แต่ละส่วนงานได้เห็นภาพของการใช้ข้อมูลร่วมกันใน หน่วยงานและกำหนดผู้รับผิดชอบชุดข้อมูลนั้น ๆ ได้ การเรียนรู้เกี่ยวกับกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ ความสำคัญของการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล กระบวนการในการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลแต่ละขั้นตอน การฝึก ปฏิบัติในการจัดทำชั้นความลับข้อมูล (Data Classification) การจัดทำการจัดทำเมทาดาตาเชิงธุรกิจ (Business Metadata) การจัดทำเมทาดาตาเชิงเทคนิค (Technical Metadata การจัดทำบัญชีข้อมูล (Data Catalog) การจัดทำนโยบายข้อมูล (Data Policy)

รายละเอียดหลักสูตรที่เปิด

ครั้งที่รุ่นที่ 1: 5 – 7 มีนาคม 2568
รุ่นที่ 2: 26 – 28 มีนาคม 2568
รุ่นที่ 3: 9 – 11 เมษายน 2568
ผู้สอนผศ.ดร.โษฑศ์รัตต ธรรมบุษดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะกรรมการ
ที่ปรึกษาคณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล กระทรวงยุติธรรม
คณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะกรรมการ PDPA มหาวิทยาลัยมหิดล
รองประธานคณะทำงานเทคนิคด้านมาตรฐานการบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
ที่ปรึกษาด้านธรรมาภิบาลข้อมูล
การรถไฟแห่งประเทศไทย
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
การกีฬาแห่งประเทศไทย
บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
บริษัท ซอฟท์นิกส์ เทคโนโลยี จำกัด

คุณ วิเชียร บุญญะประภา
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
วิทยากรประจำ Datalent Team
กลุ่มผู้เรียน1. กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและงานวิชาการ (Academic)
2. กลุ่มผู้ปฏิบัติงานเฉพาะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Technologist)
3. กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการบริการ (Service)
ค่าลงทะเบียน9,300 บาท
หมายเหตุการจัดอบรมจํานวน 3 รุ่น รุ่นละไม่เกิน 40 คน จํานวน 3 วัน
(วันละ 6 ชั่วโมง รวม 18 ชั่วโมง)
ติดต่อสอบถามคุณ ไชยวัฒน์ จิรกิจไพบูลย์
เบอร์โทร 0971135975
Chaiwat.jirakit@gmail.com
สถานที่โรงแรมอวานี รัชดา กรุงเทพ
ข้อมูลเพิ่มเติมหลักสูตรนี้ได้รับการรับรองหลักสูตรจากสถาบันพัฒนาบุคคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล

กำหนดการ

เวลาหัวข้อเนื้อหา
 วันที่ 1
09.00 -12.00การบริหารจัดการข้อมูล– การใช้ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนองค์กร (Data Driven Organization)
– ความรู้เกี่ยวกับข้อมูล (ประเภทและรูปแบบ ของข้อมูล ชุดข้อมูล ฐานข้อมูล)
– วงจรชีวิตของช้อมูล (Data Life Cycle) และแนวทางการบริหารจัดการข้อมูล
– การบริหารจัดการข้อมูลและกระบวนการจัดการข้อมูลในองค์กร
– องค์ประกอบในการบริหารจัดการข้อมูล
 ฝึกปฏิบัติ การวิเคราะห์กระบวนงานและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง– การระบุข้อมูลที่อยู่ในหน่วยงาน เพื่อทราบความสัมพันธ์ของข้อมูลและกระบวนงานในองค์กร
– การวิเคราะห์ปัญหา (pain point) ของการใช้ข้อมูลในหน่วยงาน เพื่อให้ทราบปัญหาและหาแนวทางในการแก้ปัญหา
 แนวคิดธรรมาภิบาลข้อมูล
(Data Governance Concept)
– แนวคิด ที่มา ความสำคัญของธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance)
– ความสัมพันธ์ของธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance) และ การบริหารจัดการข้อมูล (Data Management)
– แนวทางการจัดทำนโยบายธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance Policy) และแนวทางแนวทางการทำ Data Protection
– สรุป ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการ ข้อมูลและการจัดทำธรรมภิบาลข้อมูล
– ความสำคัญและประโยชน์ของการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลในหน่วยงาน
– Use Case: กรณีตัวอย่างการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลในหน่วยงานภาครัฐ
13.00 -16.00กรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ– ที่มาของธรรมภิบาลข้อมูลภาครัฐ
– ความหมายของกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance Framework for Government)
– โครงสร้างของธรรมภิบาลข้อมูลภาครัฐ
– กระบวนการธรรมภิบาลข้อมูลภาครัฐ
– แนวทางการจัดการกระบวนการธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (Data Governance Process Guidelines) โดยการใช้ตารางเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการ(Process) ส่วนเข้า(Input) ส่วนนำออก(Output) และผู้มีส่วนได้เสีย
กับข้อมูล ( Data Stakeholder)
– การระบุความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการ/กิจกรรม และผู้มีส่วนได้เสียกับข้อมูลด้วย RACI Matrix (Responsible, Accountable, Consulted และ Informed)
– สภาพแวดล้อมของธรรมภิบาลข้อมูล กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
แนวนโยบาย และแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
– การนิยามข้อมูล (หมวดหมู่ของข้อมูล คำอธิบายชุดข้อมูล บัญชีข้อมูล พจนานุกรมข้อมูล)
– กฎเกณฑ์ข้อมูล (นโยบายข้อมูล มาตรฐานข้อมูล)
– การวัดการดำเนินการและความสำเร็จธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ(Data Governance Metrics and Success Measures)
▪ การประเมินความพร้อมธรรมาภิบาลข้อมูล การวัดการดำเนินการและความสำเร็จธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ(Data Governance Metrics and Success Measures)
▪ การประเมินความพร้อมธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Quality Assessment)
▪ การประเมินความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล (Data Security Assessment)
 วันที่ 2
09.00 -12.00ฝึกปฏิบัติ การจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ– ฝึกปฏิบัติการจัดทำบัญชีข้อมูล (Data Catalog)
– ฝึกปฏิบัติการจัดทำพจนานุกรมข้อมูล (Data dictionary)
– ฝึกปฏิบัติการจัดทำคำอธิบายชุดข้อมูล (Metadata)
13.00 -16.00ฝึกปฏิบัติ การจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ (ต่อ)– การจัดทำการจัดทำเมทาดาตาเชิงธุรกิจ (Business Metadata)
– การจัดทำเมทาดาตาเชิงเทคนิค (Technical Metadata)
 วันที่ 3
09.00 -12.00ฝึกปฏิบัติ การจัดการคุณภาพข้อมูล– ฝึกปฏิบัติการประเมินความพร้อมธรรมาภิบาลข้อมูล
– ฝึกปฏิบัติการประเมินคุณภาพของข้อมูล (Data Quality Assessment)
13.00 -16.00มาตรฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง– ฝึกปฏิบัติการประเมินความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล (Data Security Assessment)
– ฝึกปฏิบัติการจัดทำนโยบายและแนวปฏิบัติสำหรับชุดข้อมูล

หรือสามารถชำระเงินสดหรือโอนเงิน เข้าธนาคารไทยพาณิชย์

ชื่อบัญชี: เงินรายได้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขบัญชี: 333-279192-7
เมื่อชำระเงินเรียบร้อยแล้ว สามารถส่งหลักฐานการชำระเงินได้ทาง
Email: Chaiwat.jirakit@gmail.com
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ : 097-1135975 (คุณบอย)