DGA203
หลักสูตรความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัลสำหรับผู้บริหารภาครัฐ
(Digital Security for Government Executives)
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้มีความรู้และความเข้าใจพื้นฐานในหลักการที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
- เพื่อให้สามารถออกแบบและจัดทำนโยบายหรือยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
- เพื่อให้มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
คำอธิบายหลักสูตรเพิ่มเติม
หลักสูตรความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัลสำหรับผู้บริหารภาครัฐมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องของความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัลเบื้องต้น โดยจะให้มีองค์ความรู้ทั้งตัวนิยามของคำว่า ความมั่นคงปลอดภัย ทางดิจิทัล และความสัมพันธ์ของความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัลกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล ผู้เรียนจะได้ทราบถึงความเสี่ยง อันตราย และการโจมตีที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับสินทรัพย์ขององค์กร จากนั้นเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น เทคโนโลยีและกลไกต่าง ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้จะถูกแนะนำให้แก่ผู้เรียน หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่ถูกออกแบบมาสำหรับผู้บริหารภาครัฐ ดังนั้นผู้เรียนจะได้ศึกษามาตรฐานและกรอบการดำเนินงาน รวมถึงกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัล เพื่อผู้เรียนจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบนโยบายและยุทธศาสตร์สำหรับการขับเคลื่อนองค์กรที่มีวัฒนธรรมและแนวคิดของความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัลด้วย
รายละเอียดหลักสูตรที่เปิด
วันที่ | TBA |
ผู้สอน | รศ. ดร. สุดสงวน งามสุริยโรจน์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ดร. อัษฎารัตน์ คูรัตน์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ดร. ทรงพล ตีระกนก คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์ ผกาพร เพ็งศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล |
กลุ่มผู้เรียน | 1. กลุ่มผู้บริหารระดับสูง (Executive) 2. กลุ่มผู้อำนวยการกอง (Management) |
ค่าลงทะเบียน | 7,000 บาท |
หมายเหตุ | การจัดอบรมจํานวน 1 รุ่น รุ่นละไม่เกิน 40 คน จํานวน 2 วัน (วันละ 6 ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมง) |
ติดต่อสอบถาม | อาจารย์ผกาพร เพ็งศาสตร์ เบอร์โทร 0824981177 ict@mahidol.ac.th |
สถานที่ | มหาวิทยาลัยมหิดล |
ข้อมูลเพิ่มเติม | หลักสูตรนี้ได้รับการรับรองหลักสูตรจาสถาบันพัฒนาบุคคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล |
กำหนดการ
เวลา | หัวข้อ | เนื้อหา |
วันที่ 1 | ||
09.00 -12.00 | ความรู้พื้นฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัล (Digital Security Fundamentals) | – นิยามของคำว่าความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัล – ความสัมพันธ์ระหว่างความมั่นคงปลอดภัยทาง ดิจิทัล กับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Transformation) – CIA Model (Confidentiality, Integrity and Availability) |
ความเสี่ยงและภัยคุกคาม (Risk and Threat Landscape) | – นิยามของคำว่า ภัยคุกคาม – แนวโน้มของภัยคุกคามต่าง ๆ – ประเภท/คำอธิบายของภัยคุกคามต่าง ๆ – ผลกระทบของภัยคุกคามต่อองค์กร | |
13.00-16.00 | เทคโนโลยีและกลไกที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ปลอดภัยทางดิจิทัล (Digital Security Technologies and Mechanisms) | – ความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัล ใน กระบวนการพัฒนาระบบ (SecSDLC) – บุคลากร/คณะทำงานที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ปลอดภัยทางดิจิทัล (Cyber Security Teams) – ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกลไกที่จำเป็นในการรักษา ความมั่นคงปลอดภัยทาง |
มาตรฐานสำหรับความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัล (Digital Security Standards and Frameworks) | – NIST Cyber Security Framework – ISO27001 – การตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัล (Digital Security Audit) | |
วันที่ 2 | ||
09.00 -12.00 | กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยทาง ดิจิทัล (Cyber Security Laws) | – พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 – พ.ร.บ. การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 – พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 – General Data Protection Regulation (GDPR) -แนวทางการจัดการเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายที่ กำหนด |
13.00-16.00 | การพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ปลอดภัยทางดิจิทัล (Digital Security Policy and Strategy Development) | – ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหารบริหารความเสี่ยง (Introduction to Risk Management) – การพัฒนาและตัวอย่างนโยบายด้านความมั่นคง ปลอดภัยทางดิจิทัล – การพัฒนาและตัวอย่างยุทธศาสตร์ด้านความ มั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัล |
การสร้างวัฒนธรรมความมั่นคงปลอดภัยทางดิจิทัล ในองค์กร (Building a Digital Security Culture) | – นิยามคำว่า “วัฒนธรรมความมั่นคงปลอดภัยทาง ดิจิทัล” – ความสำคัญของการมีวัฒนธรรมความมั่นคง ปลอดภัยทางดิจิทัล – การสร้างวัฒนธรรมความมั่นคงปลอดภัยทาง ดิจิทัลและการมีส่วนร่วมของบุคลากร |