DGA308

การพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับการบริการด้านดิจิทัลภาครัฐ

(Software Development for Digital Government Services)

วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์
  • เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการในการออกแบบสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์
  • มีความสามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ วิเคราะห์ความต้องการ และสรุปความต้องการบริการดิจิทัลและกระบวนการให้บริการแบบเชื่อมโยงได้
  • สามารถระบุองค์ประกอบสำคัญของการออกแบบบริการดิจิทัลได้
  • สามารถสร้างพิมพ์เขียวบริการ (Service Blueprint) สู่การพัฒนานวัตกรรมบริการได้

คำอธิบายหลักสูตรเพิ่มเติม

หลักสูตรนี้มุ่งเน้นให้ผู้เข้าร่วมอบรม เข้าใจถึงกระบวนการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ มีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ มีความสามารถในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ สามารถวิเคราะห์ความต้องการ และสรุปความต้องการบริการดิจิทัลและกระบวนการให้บริการแบบเชื่อมโยงได้ ร่วมถึงความสารมารถในการระบุองค์ประกอบสำคัญของการออกแบบบริการดิจิทัล และการสร้างพิมพ์เขียวบริการสู่การพัฒนานวัตกรรมบริการได้

รายละเอียดหลักสูตรที่เปิด

ครั้งที่TBA
ผู้สอนผศ. ดร. ธันวดี สุเนตนันท์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล
ดร. มรกต เชิดเกียรติกุล คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล
ดร. ชัยยงค์ รักขิตเวชสกุล คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล
ผศ. ดร. ศรีสุภา ปาลกะวงศ์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล
กลุ่มผู้เรียน1. กลุ่มผู้ปฏิบัติงานเฉพาะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Technologist)
ค่าลงทะเบียน12,000 บาท
หมายเหตุการจัดอบรมจํานวน 1 รุ่น จํานวน 3 วัน (วันละ 6 ชั่วโมง รวม 18 ชั่วโมง)
ติดต่อสอบถามอาจารย์ผกาพร เพ็งศาสตร์
เบอร์โทร   0824981177
ict@mahidol.ac.th
สถานที่มหาวิทยาลัยมหิดล คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ข้อมูลเพิ่มเติมหลักสูตรนี้ได้รับการรับรองหลักสูตรจากสถาบันพัฒนาบุคคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล
เวลาหัวข้อเนื้อหา
 วันที่ 1
09.00 -12.00กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ (Software Development Process)  – ความหมายของกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์
– ขั้นตอนในการพัฒนาซอฟต์แวร์
– หลักการวิเคราะห์ความต้องการของซอฟต์แวร์ (Software Requirements) และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
– ความหมายของการวิเคราะห์ความต้องการ
– ประเภทของความต้องการ
– ความต้องการของผู้ใช้ (User Requirement)
– ความต้องการของระบบ (System Requirement)
– ประเภทของความต้องการของระบบซอฟต์แวร์
– Functional Requirement
– Non-functional Requirement
– Domain Requirement
– บทบาทหน้าที่ของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์
 หลักการวางแผนการดำเนินโครงการ (Project Plan) และแผนการพัฒนาซอฟต์แวร์  – ความหมายของการวางแผน
– ประเภทของแผนงานชนิดต่าง ๆ
– การระบุทรัพยากรในแต่ละขั้นตอน
– หลักการการวางแผนดำเนินโครงการและกำหนดแผนการพัฒนาซอฟต์แวร์ แบบเป็นวงรอบ (Iteration)
– กำหนดแนวทางตรวจสอบผลลัพธ์การทำงาน
13.00-16.00การออกแบบสถาปัตยกรรมและรายละเอียดของซอฟต์แวร์ (Software architecture and Detailed Design) – ความหมายของการออกแบบซอฟต์แวร์
– กระบวนการในการออกแบบสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์
– Design
– Implementation
– Test
– Maintenance
 วันที่ 2
09.00 -12.00การรับประกันคุณภาพของซอฟต์แวร์ (Software Quality Assurance)  – ความหมายของการประกันคุณภาพของซอฟต์แวร์
– กระบวนการประกันคุณภาพของซอฟต์แวร์
– การติดตามและการประเมินผลการดำเนินงาน
– Verification and Validation มีการตรวจสอบกระบวนการทำงานและ Work Products ต่างๆ
13.00-16.00หลักการวิเคราะห์การปฏิสัมพันธ์/ประสบการณ์ของผู้ขอรับบริการตลอดจนกระบวนการบริการแบบเชื่อมโยง– User experience principle
– User Journey method
 วันที่ 3
09.00 -16.00องค์ประกอบของการออกแบบบริการเพื่อความสมบูรณ์ของการให้บริการ– UX/UI Design
– องค์ประกอบสำคัญของการออกแบบบริการดิจิทัล
– ระบบนิเวศน์บริการ (Service Ecosystem): Frontstage and Backstage
– กรอบกระบวนการการให้บริการ: Large Offering, Across Multiple Sub-Offerings เพื่อลดความซับซ้อนในการใช้ทรัพยากร
 วันที่ 4
09.00 -16.00การสร้างพิมพ์เขียวบริการ (Service Blueprint) สำหรับพัฒนานวัตกรรมบริการ– การออกแบบและวิเคราะห์ Customer Journey เพื่อพัฒนาการบริการ
– พื้นฐานการออกบแบบกระบวนงาน (Process Design), การออกแบบองค์กร (Organization Design), การออกแบบสารสนเทศ (Information Design)
– ประเมินความเป็นไปได้ด้านต่าง ๆ เช่น ด้านกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง
– การสร้างพิมพ์เขียว (Service Blueprint)