การจัดการข้อมูลเปิดภาครัฐและการเชื่อมโยงข้อมูลข้ามหน่วยงานภาครัฐ
(Open Government Data and Data Exchange Management)
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานในหลักการที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเพื่อการบริการสาธารณะ
- เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานในหลักการที่เกี่ยวข้องกับใช้งานข้อมูลเพื่อการบริการสาธารณะ
- เพื่อให้สามารถออกแบบ และพัฒนาข้อมูลเพื่อการบริการสาธารณะ
- เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานในหลักการที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างองค์กร
- เพื่อให้สามารถออกแบบ และพัฒนาการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างองค์กร
- เพื่อให้ตระหนักรู้ถึงนโยบายหรือยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างองค์กร
คำอธิบายหลักสูตรเพิ่มเติม
หลักสูตรนี้ออกแบบมาเพื่อเสริมสร้างความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับบุคลากรภาครัฐในการจัดการข้อมูลเปิดและการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน โดยครอบคลุมทั้งด้านหลักการ การออกแบบ การพัฒนา และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจถึงนโยบายและยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาระบบราชการในยุคดิจิทัล
รายละเอียดหลักสูตรที่เปิด
ครั้งที่ | 1 |
ผู้สอน | ผศ.ดร.โษฑศ์รัตต ธรรมบุษดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
กลุ่มผู้เรียน | 1. กลุ่มผู้บริหารระดับสูง (Executive) 2. กลุ่มผู้อำนวยการกอง (Management) 3. กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและงานวิชาการ (Academic) 4. กลุ่มผู้ปฏิบัติงานเฉพาะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Technologist) 5. กลุ่มผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการบริการ (Service) |
ค่าลงทะเบียน | 8,600 บาท |
หมายเหตุ | การจัดอบรมจำนวน 1 รุ่น รุ่นละไม่เกิน 40 คน จำนวน 2 วัน (วันละ 6 ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมง) |
ติดต่อสอบถาม | คุณ ไชยวัฒน์ จิรกิจไพบูลย์ เบอร์โทร 097–1135975 Chaiwat.jirakit@gmail.com |
สถานที่ | โรงแรมอวานี รัชดา กรุงเทพ |
ข้อมูลเพิ่มเติม | หลักสูตรนี้ได้รับการรับรองหลักสูตรจากสถาบันพัฒนาบุคคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล |
กำหนดการอบรม
เวลา | หัวข้อ | เนื้อหา |
วันที่ 1 | ||
9.00 – 12.00 | การเรียนรู้ถึงนโยบาย และ ยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยง ข้อมูลข้ามหน่วยงาน ทำความรู้จักกับข้อมูลเพื่อการ บริการสาธารณะ | – ความสำคัญของข้อมูล ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์และ ตัวชี้วัดขององค์กร – การจัดการข้อมูล ลักษณะและความสัมพันธ์ของข้อมูลในองค์กร – กรณีศึกษา – กฎหมายและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลเพื่อการบริการ สาธารณะภาครัฐ – ประเภทและความสัมพันธ์ของข้อมูล – วงจรชีวิตของข้อมูล – ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดเผยข้อมูล การเชื่อมโยงข้อมูล และ ธรรมาภิบาลข้อมูล – คุณลักษณะของข้อมูลเพื่อการบริการสาธารณะ – คุณลักษณะของชุดข้อมูลที่เป็น Machine Readable – การประเมินความพร้อมของหน่วยงานของการเปิดเผยข้อมูลเพื่อการบริการ สาธารณะภาครัฐ – หลักการของศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ – ข้อกําหนดและเงื่อนไขการให้ใช้ข้อมูลของศูนย์กลาง ข้อมูลเปิดภาครัฐ |
13.00 – 17.00 | การออกแบบและพัฒนาข้อมูล เพื่อการบริการสาธารณะ | – การวิเคราะห์ชุดข้อมูลที่ควรจะเป็นข้อมูลเพื่อการบริการสาธารณะ – การเตรียมความพร้อมข้อมูลเพื่อการเปิดเผย เช่น การจัดทำคำอธิบายชุดข้อมูล ดิจิทัลเชิงธุรกิจและเทคนิค (Business Metadata and Technical Metadata) – การตรวจสอบความถูกต้องและคุณภาพของข้อมูลก่อนการเผยแพร่ – การพัฒนาชุดข้อมูลเพื่อการเผยแพร่ในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูล – การนำชุดข้อมูลที่ต้องการเปิดเผยขึ้นเผยแพร่บนศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ |
วันที่ 2 | ||
9.00 – 12.00 | การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อม ของการเชื่อมโยงข้อมูลและ แลกเปลี่ยนข้อมูล | – ความต้องการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูล – เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูล – คุณลักษณะของข้อมูลที่ใช้ร่วมกัน – กระบวนการทำงานในการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมของการเชื่อมโยงข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูล – บทบาทผู้ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยผู้สร้างข้อมูลและผู้ใช้ข้อมูล วิธีการเชื่อมโยงการทำงานระหว่างหน่วยงาน |
13.00 – 17.00 | ความรู้เกี่ยวกับเกณฑ์วิธีในการ แลกเปลี่ยนข้อมูลและการ ยืนยันตัวตน ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐาน รูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการเชื่อมโยงข้อมูลและ แลกเปลี่ยนข้อมูล | – เกณฑ์วิธีสำหรับการรับส่งและทิศทางการไหลของสารสนเทศ – เกณฑ์วิธีสำหรับการขอสิทธิ์และการยืนยันตัวตนเพื่อขอเข้าถึงข้อมูล – ระดับมาตรฐานการทำงานร่วมกัน ได้แก่ มาตรฐานการ ทำงานร่วมกัน ระดับเทคนิค – มาตรฐานการทำงานร่วมกันระดับความหมาย (Semantics) และมาตรฐาน การทำงานร่วมกันระดับ องค์กร – รูปแบบมาตรฐานข้อมูลและการแปลงข้อมูลที่รับส่ง ให้อยู่ในรูปแบบที่ใช้งานได้ – การตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลจากโครงร่างข้อมูล |
วันที่ 3 | ||
9.00 – 12.00 | การควบคุมคุณภาพ สารสนเทศ | – การกำหนดแนวทางของโลจิสติกส์สารสนเทศ เช่น ข้อมูลอะไร มาจากที่ไหน ไปที่ไหน – การจัดการข้อมูลสำหรับโลจิสติกส์สารสนเทศ อาทิการตรวจสอบคุณภาพและ เครื่องมือในการตรวจสอบคุณภาพรวมถึงการแก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง |
13.00 – 16.00 | การเลือกใช้ข้อมูล และการ วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวาง ยุทธศาสตร์ กลยุทธ์และการ ดำเนินงานสำหรับองค์กร การตีความข้อมูล ความรู้ ข่าวสารที่ได้และการนำ ผลลัพธ์ไปใช้ประโยชน์ ในการ ดำเนินงาน | – การทำความเข้าใจปัญหาและความต้องการขององค์กร – กำหนดโจทย์หรือประเด็นที่ต้องการวิเคราะห์ข้อมูล – การเตรียมข้อมูลให้พร้อมกับการวิเคราะห์ข้อมูล – การเลือกใช้ข้อมูลและการเลือกเทคนิควิธีในการวิเคราะห์ข้อมูล – การวางแผนยุทธศาสตร์และกลยุทธ์จากการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยและแนวโน้มต่าง ๆ – กรณีศึกษา – การตีความข้อมูลจากแผนภาพ (Data Visualization) – การตีความผลลัพธ์จากแบบจำลอง – การนำเสนอสารสนเทศ (ผลลัพธ์) จากการวิเคราะห์เพื่อสื่อสารให้กับหน่วยงาน – การประเมินความพร้อมด้านดิจิทัลขององค์กร – กรณีศึกษาโครงการวิเคราะห์ข้อมูลในองค์กร |
หรือสามารถชำระเงินสดหรือโอนเงิน เข้าธนาคารไทยพาณิชย์
ชื่อบัญชี: เงินรายได้คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
เลขบัญชี: 333-279192-7
เมื่อชำระเงินเรียบร้อยแล้ว สามารถส่งหลักฐานการชำระเงินได้ทาง
Email: Chaiwat.jirakit@gmail.com
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ : 097-1135975 (คุณบอย)